วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Computer Science Survive

ในบทความนี้ขออ้างถึงสิ่งที่วางรากฐานความคิดเยาวชนไทยให้อยู่ได้ในอนาคตบนโลกดิจิตอล
วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (อังกฤษcomputer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย
“วิทยาการคำนวณ” คือวิชาที่ปรับหลักสูตรมาจากวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 
ต่อไปนี้เด็กตั้งแต่ประถม ถึงระดับมัธยม จะได้ร่ำเรียนกัน ถือว่าเป็นวิชาบังคับนะครับ อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พอเปิดเทอมพฤษภาคมปี 2561 ก็เริ่มเรียนแล้ว
ในหลักสูตรที่น่าสนใจ
      เนื้อหาในระดับพื้นฐาน
          -  วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science: CS)
          -  เทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication Technology: ICT)
          -  การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy: DL)
      เนื้อหาเด่นของวิชานี้คือ พื้นฐานการคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) ที่มี 4 องค์ประกอบสำคัญ
          -  การแบ่งปัญหาใหญ่ให้เป็นปัญหาย่อย (decomposition) 
          -  การมองหารูปแบบของปัญหา (pattern recognition)
          -  การคิดเชิงนามธรรม (abstraction)
          -  ออกแบบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา (algorithm design)

      การวัดผล “เน้นการคิดให้เป็น” มากกว่าการท่องจำ
            โดยเด็กเล็กจะวัดผลจากกิจกรรมในห้องเรียนและการสังเกตพฤติกรรม เช่น ให้เขียนขั้นตอนการทำไข่เจียวเพื่อวัดผลเรื่องอัลกอริทึมง่ายๆ 
             ส่วนเด็กโตจะเริ่มวัดผลแบบข้อเขียน แต่เปิดกว้างและเน้นคิดมากกว่าการท่องจำ


ดังนั้น วิชานี้ไม่ได้ทำให้ลูกยิ่งติดหน้าจอ ติดเกม หรือโลกโซเชียล
เพราะหัวใจหลักสูตรต้องการ “ให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ได้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาจากข้อมูลได้ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี”


ผมเห็นชอบด้วยในเนื้อหาเด่นไม่ได้เน้นแต่วิชาการ แต่สอนคิดเป็นแบบเป็นระบบและสามารถประยุกต์ใช้วิธีคิดเชิงคำนวณได้กับทุกสาขาอาชีพ แม้แต่กับดำเนินชีวิตจริง ผลที่จะได้คงจะนำพาให้มีการพัฒนาวิทยาการอีกหลายแขนงวิชา
ref; kruvoice.com, th.wikipedia.org, twitter.com/eduzones ,ขอบคุณรูปภาพจาก myfirstBrain.com