วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ดำรงชีวิตกับเทคโนโลยีในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19

การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เริ่มต้น ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2563
โดยเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยยืนยันรายแรกนอกประเทศจีน การแพร่เชื้อท้องถิ่นที่มีรายงานรายแรก
มีการยืนยัน เมื่อวันที่ 31 มกราคม จำนวนผู้ป่วยยังมีน้อยตลอดเดือนกุมภาพันธ์ ต่อมาจำนวนผู้ป่วย
เพิ่มขึ้นมากในกลางเดือนมีนาคม ซึ่งกลุ่มใหญ่สุดเกิดที่การชกมวยไทย ณ สนามมวยเวทีลุมพินี
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ผู้ป่วยยืนยันแล้วเพิ่มเกิน 100 คนต่อวัน มีผู้ป่วยตายในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่โรคนี้
ทำให้เกิดอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ (เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่) โดยมีอาการอย่างเช่น
ไอเป็นไข้ และหายใจลำบากในรายที่มีอาการรุนแรง คุณป้องกันตัวเองได้ด้วยการล้างมือบ่อยๆ
ไม่เอามือสัมผัสใบหน้า และหลีกเลี่ยงการพบปะใกล้ชิด (ระยะ 1 เมตรหรือ 3 ฟุต) กับคนที่ไม่สบาย
ยังไม่มีคิดค้นวัคซีนป้องกัน ประเทศไทยขณะนั้นได้เริ่มป้องกันการแพร่ระบาด


โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า Social Distancing, Quarantine
สิ่งที่ควรทำ

  • ล้างมือบ่อยๆ เป็นเวลา 20 วินาทีด้วยสบู่และน้ำหรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  • ใช้กระดาษทิชชู่หรือข้อพับตรงข้อศอกด้านในปิดปากและจมูกขณะไอหรือจาม
  • หลีกเลี่ยงการพบปะใกล้ชิด (ระยะ 1 เมตรหรือ 3 ฟุต) กับคนที่ไม่สบาย
  • อยู่บ้านและกักตัวเองให้ห่างจากคนอื่นในบ้านหากรู้สึกไม่สบาย

รัฐบาลเห็นว่าจะเกิดการแพร่ระบาดรุนแรง วันที่ 25 มีนาคม รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขต
ท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม – 30 เมษายน โดยมีระบุสิ่งที่ห้ามทำและให้ทำ
 ก่อนที่โรคจะแพร่ระบาดไปมากกว่านี้บริษัทห้างร้านต่างๆ รวมถึงประชาชนเกิดการปรับตัวในการใช้ชีวิตเช่น การปิดออฟฟิศและอนุญาตให้พนักงานทำงานที่บ้านได้ Work from home หรือ สั่งของออนไลน์มากขึ้นทำให้ระบบดิจิตอลในสาขาต่างๆ เกิดและเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต

           1. Work From Home

           ชีวิตการทำงานที่ต้องเดินทางทุกวัน พบปะผู้คนมากหน้าหลายตา ท่ามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสกำลังรุนแรงมากขึ้น ผู้ติดเชื้อในไทยก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้หลาย ๆ บริษัทประกาศให้พนักงาน Work From Home แล้ว ดังนั้นการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้สามารถติดต่อสื่อสารและทำงานที่บ้านได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยแอปพลิเคชันอย่าง Line, Facebook Messenger, Slack, Zoom หรือ Hangouts ก็เป็นตัวเลือกในการติดต่อสื่อสารและการประชุมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชั่นส่งไฟล์งานอย่าง Google Drive, Dropbox และ Google Docs ก็สามารถนำมาปรับใช้ได้ตามสะดวก

          2.Study From Home

การหยุดเรียน ปิดสถานศึกษา เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส 
มหาวิทยาลัยหลายแห่งทยอยงดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย แล้วมาจัดการสอนใน
รูปแบบออนไลน์เพื่อไม่ให้นักศึกษาต้องเดินทางมาเรียน รวมถึงการหลีกเลี่ยงการรวมเป็น
กลุ่มของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยโดยอาจารย์และนักศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอน
สั่งงานออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆเช่น Google Classroom, Facebook Group, 
Facebook Live หรือ Zoom

          3.Virtual Event

มาตรการงดจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมากเป็นอีกมาตรการหลักจากภาครัฐและองค์กรธุรกิจ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และอาจควบคุมการระบาดไม่ได้หากมี
ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมดังนั้นหลายกิจกรรมจึงหันไปจัดผ่านระบบออนไลน์แทนไม่ว่าจะเป็นองค์กรใหญ่ๆ อย่าง Google, Facebook หรือ Apple ก็ปรับรูปแบบของงานประจำปีเป็นระบบออนไลน์ รวมถึงโปรแกรมงานต่างๆ ก็นำเสนอกิจกรรมทั้งหมดผ่านคีย์โน้ตและเซสชั่นออนไลน์

        4.E-commerce

การสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ยอดนิยมอย่าง Lazada, Shopee, JD central เป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภค โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คนเลือกที่จะสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมาตุนไว้ที่บ้านและหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะมากขึ้น กลุ่มสินค้าที่มีความต้องการสูงในช่วงนี้ก็เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม อุปกรณ์ทำความสะอาด ตลอดจนของใช้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต

            สิ่งที่โลกทั้งใบหวาดกลัวไม่ใช่เชื้อโรค แต่คือ มนุษย์


ref; thumbsup.in.th