วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

comfort zone และ Digital Nomad

แนวทางการดำรงชีวิต
      มีหลายเส้นทางความคิดที่นำพาเราไปสู่ความสำเร็จพร้อมความสุข แต่บางความคิดและประสบการณ์
ของแต่ละบุคคลไม่อาจก้าวข้ามสิ่งเหล่านั้นไปได้ ลองดูแนวทางใหม่บ้างไหม เผื่อจะพบทางที่เข้ากันได้กับการดำรงชีวิตของเราเอง

comfort zone คืออะไร

comfort zone คือ ช่วงเวลาชีวิตที่เรารู้สึกว่าทุกอย่างดูเรียบง่าย สบาย ไม่มีปัญหาอะไรมากวนใจ หรือถ้ามี ก็รู้ว่าจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไรกับมัน ถ้าเป็นพนักงานรับจ้าง ก็คือช่วงเวลาที่รู้สึกว่าทุกอย่างลงตัวหมด หน้าที่ ตำแหน่ง เงินเดือน ดีทุกอย่าง บางครั้งยากจะให้ดีกว่านี้อีก มีเพื่อนร่วมงานและเจ้านายที่ดี เรียกได้ว่า ทุกอย่างแทบจะลงตัวไปหมดเลย ชีวิตก็จะไม่เห็นมีปัญหาอะไรอยู่ไปเรื่อยๆ ก็ได้ แต่. ความต้องการก็ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่พอใจในสิ่งที่มีอยู่

ทำไมต้องออกจาก comfort zone
ความน่ากลัวของ comfort zone มันจะทำให้เรายึดติดกับความสบาย จนสุดท้ายชีวิตเหมือนกับหยุดนิ่ง เปรียบกับต้นไม้ที่หยุดโต แต่ เราจะแก่ลงไปเรื่อยในทุกวันที่ผ่านไป เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่เราปล่อยให้วันเวลาของชีวิต ทำให้เราแก่ลงเรื่อยๆ โดยเราไม่ได้ทำอะไรให้ครอบครัว พ่อ แม่ ให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้

คนส่วนใหญ่ ติดอยู่ใน confort zone โดยที่เราไม่รู้ตัว แม้ว่าทุกคนล้วนมีความปรารถนา ที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น บ้านหลังใหญ่ที่เป็นของตัวเอง มีรถหรูราคาแพงๆขับ ได้ไปเที่ยวบ่อยๆ มีเงินยามเจ็บป่วย หรือเมื่อต้องการใช้ แต่หากติดอยู่ใน comfort zone แล้ว โอกาสที่จะได้สิ่งนั้นมาเป็นเรื่องยากมาก หรือใช้เวลานานมากกว่าจะได้สิ่งเหล่านั้นมาเชยชม

ชีวิตของผู้ประสบความสำเร็จทุกคน ล้วนแต่ไม่ได้อยู่ใน comfort zone มาทั้งนั้น (ถ้าไม่เชื่อ แนะนำให้ลองเดินเข้าร้านหนังสือ แล้วหาหนังสือ ที่เกี่ยวกับชีวิตของคนที่ประสบความสำเร็จสักคนนึงที่คุณอยากอ่านแล้วมาลองอ่านดู) ทุกคนล้วนแต่มีชีวิต ที่ผจญภัย เสี่ยง บ้าบิ่น เทหมดหน้าตักกันมาแล้วทั้งนั้น แต่ก็เพราะอย่างนั้นเค้าถึงสำเร็จ

สำหรับตนเอง ถ้ายากออกจาก comfort zone ถามตัวเองก่อน ต้องการมีอะไรที่มากกว่าที่มีอยู่ตอนนี้หรือเปล่า และให้มองไปข้างหน้า ถ้าวันนึงบางอย่างไม่เป็นอย่างที่คิด คุณจะทำอย่างไร สิ่งที่ต้องพบเจอเช่น ต้องอดทนต่อความเหนื่อยยากกับงานที่ทำ (ทำเกินเงินเดือนที่จ้างบ้าง) หารายได้เพิ่มแต่ไม่กระทบต่องานเดิม part time  ลองทำในสิ่งใหม่ๆ บ้างเพื่อเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

Digital nomad คืออะไร
Digital nomad มีที่มาจากหนังสือชื่อเดียวกันในปี 1997 ที่ผู้เขียนบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมา โดยพยากรณ์ว่าในอนาคตคนจะเลือกที่จะใช้ชีวิตแบบชาว nomadic (ที่เร่ร่อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งและเปลี่ยนที่อยู่เรื่อยๆ) และเทคโนโลยีจะกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานของคนไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่กับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งโดยเฉพาะ

digital nomad คือ การที่คนยุคปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องอยู่ประจำ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งเพื่อทำงานหาเลี้ยงชีพ แต่สามารถเร่ร่อนไปตามประเทศต่างๆ เพียงขอให้แค่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็สามารถที่จะทำงานเลี้ยงชีพไปด้วย ท่องเที่ยวไปด้วย ดังนั้นอย่าแปลกใจที่จะเห็นชาวต่างชาติ มานั่งตามร้านกาแฟ หรือตาม co-working space ต่างๆ แล้วก็นั่งทำงานกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว อาชีพที่เหมาะกับพวก Digital nomad เหล่านี้ ก็มักจะเป็นงานที่สามารถทำงานได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสถานที่หรือ location เช่น การเป็นนักเขียน นักพัฒนาเว็บ หรือ แอพ นักการตลาด ผู้ดูแลสื่อสังคมออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่สามารถทำงานจากสถานที่ใดในโลกก็ได้

นอกจาก Digital nomad แล้วยังมีศัพท์อีกคำที่โผล่มาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คือ Workation ซึ่งเป็นการนำคำสองคำมาผสมกัน นั้นคือ work + vacation ถ้าแปลตรงตัว workation คือการทำงานไปพร้อมๆ กับการพักร้อน บางท่านจะมองว่า Digital nomad คือเรื่องเดียวกับ Workation แต่บางท่านก็จะมองสองส่วนนี้ต่างกัน โดยมองว่า Workation เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Digital nomad เนื่องจากมองว่า Workation นั้นเป็นการทำงานพร้อมกับการพักผ่อน ส่วน Digital nomad นั้นจะครอบคลุมกว่า เพราะเป็นการทำงานโดยไม่ยึดติดกับสถานที่และเปลี่ยนย้ายที่ไปเรื่อยๆ

แต่ไม่ว่าจะนิยามเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ทั้ง Digital nomad และ Workation ก็ล้วนแล้วแต่เป็นหนึ่งในผลิตผลของพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีที่เปิดโอกาสให้คนสามารถทำงานได้จากทุกมุมโลก ขณะเดียวกันก็สะท้อนภาพมุมมองและทัศนคติของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ชอบการทำงานประจำ ไม่ยึดติดกับสถานที่และ office ในรูปแบบเดิมๆ สามารถนั่งทำงานตามร้านกาแฟหรือตาม co-working space ได้ 

วิถีทางแนวคิด working space ได้เปลี่ยนไปเมื่อผู้คนพบหนทาง Out comfort zone และ Digital nomad เริ่มแพร่หลายและถูกค้นพบ ทิศทางธุรกิจแบบ SMEs หรือธุรกิจ Startup กำลังเป็นที่นิยมให้
ให้ความรู้ตั้งแต่นักศึกษาจบใหม่ ถูกถ่ายทอดไปถึงรุ่นต่อรุ่น ฉนั้นไม่ต้องรูปแบบเดิมจะอยู่เฉยไม่ได้ต้อง
พัฒนาตนเองให้ทัน พ่อแม่ผู้ปกครองผู้บริหารครูบาอาจารย์ ก็ต้องพัฒนาความคิดไปด้วยอย่าปิดกั้นตนเอง ช่วยกันส่งเสริมและนำพาไปด้วยกัน....

 ref ;beyourcyber.com , bangkokbiznews.com

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded system)

ระบบฝังตัว” หรือ “สมองกลฝังตัว” (Embedded system) คือระบบประมวลผล ที่ใช้ชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อเพิ่มความฉลาด ความสามารถให้กับอุปกรณ์เหล่านั้น โดยจะทำงานตามคำสั่ง คือ โปรแกรม หรืออัลกอริทึมที่เขียนลงไว้ในชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์นั้น
ระบบฝังตัวถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในงานด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีเครือข่ายเน็ตเวิร์ก เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เป็นต้น
ระบบปฏิบัติการและภาษาที่ใช้สำหรับระบบสมองกลฝังตัว
การพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว อาจจะมีการใช้ระบบปฏิบัติการเป็นแกนหลักในการพัฒนา หรือไม่มีการใช้ในการพัฒนาก็ได้ ระบบปฏิบัติการมีหลายประเภทมากตั้งแต่ RTOS , ucOS-II จนไปถึงระบบปฏิบัติการที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาเช่น Linux, Windows CE จนถึงระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ที่มีการพัฒนา เช่น MeeGo Android
ปัจจุบันมีภาษาโปรแกรมต่างๆ มากมายที่ใช้ในการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว เช่น ภาษา assembly ภาษา C ,C++ หรือภาษาระดับสูงที่เป็นระบบปฏิบัติการ เช่น JAVA หรือ Python โดยผู้ใช้สามารถเลือกใช้ภาษาได้ตามความถนัด เชี่ยวชาญ และความเหมาะสม
เราจะมาว่าถึงมันคืออะไรและทำงานอย่างไรกัน
         พูดง่ายๆมันก็คือ อุปกรณ์ชิป ที่สามารถทำงานด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์มากมาย มีความสามารถในการทำงานเหมื่อนกลับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง แต่จะมีหนวยความจำน้อย และกินไฟน้อยกว่า สามารถนำไปใช้กับชิ้นงานได้หลายอย่าง 
         ในปัจจุบัน มีค่ายหลายค่ายที่ทำการผลิดชิปตัวนี้ ใช้เรียกกันและอาจจะมีบางคนเคยได้ยินก็จะมี PIC ,AVR ,ARM และ MCU ลักษณะของขาอุปกรณ์และการนำไปใช้งานนั้นเหมือนกัน
ภายในไมโครคอนโทรลเลอร์ ดังนี้
1. ซีพียู (หน่วยประมวลผล : CPU)
2. หน่วยความจำชั่วคราว (RAM)
3. หน่วยความจำถาวร (ROM)
4. ขาวงจรขนานทั้งอนาลอคและดิจิตอล ในการรับส่งข้อมูล(Paralled digital and analog I/O)

ซึ่ง เป็นส่วนประกอบหลักสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน โดยทำการบรรจุเข้าไว้ในรูปแบบอุปกรณ์ที่มีวงจรและชิปขนาดเล็ก โดยนำไปใช้งานในเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เช่น ทีวี วิทยุ เครื่องซักผ้า และอื่น ๆ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น Embended System(ระบบสมองกลฝังตัว)

เราสามารถเพิ่มคำสั่งในการควบคุม Microcontroller ได้ด้วยการเขียนโปรแกรม เช่น
ภาษา Assemble(Low Level) เขียนโปรแกรมหลายบรรทัด แต่การทำงานของ micro controller มีความเร็วสุดเพราะถูกคอมไพล์เป็นภาษาเครื่อง
ภาษา C(Middle Level)เขียน โปรแกรมจำนวนน้อยบรรทัดกว่า ภาษา Assemble ทำงานจะช้ากว่าเป็นวินาที แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ได้พัฒนาจนมีความเร็วในการทำงานของ micro controllerให้ทำงานรวดเร็วจนเกือบเทียบเท่า ภาษา Assemble แล้ว
ภาษาสแตมป์ จัดเป็นภาษาที่ช่วยให้การโปรแกรมอุปกรณ์ด้วยภาษาที่คนส่วนมากพื้นความรู้ อยุ่แล้วมาต่อยอด ในการพัฒนาระบบไมโครคอนโทลเลอร์ ด้วยตระกูล PIC(Stamp)
refe ;morasweb.org , pic-m-robot.blogspot.com ,aimagin.com