วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA (Personal Data Protection Act)

เป็นกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย อะไรคือ ข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร มันคือข้อมูลที่ทำให้ระบุตัวบุคคลได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทางตรงก็คือข้อมูลตรงไปตรงมา เช่น ชื่อ สกุล อายุ เลขบัตรประชาชนสิบสามหลัก ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ
ทางอ้อมก็คือ ข้อมูลที่จะนำไปแยกแยะได้ว่าเราคือใคร และเอาไปใช้ติดตามบุคคลได้ 
และมันมีความสามารถในการเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นๆ ข้างนอก แล้วบอกได้ว่าใครเป็นใคร
ตัวอย่างเช่น บัญชีออนไลน์นี้ เคยซื้อของออนไลน์หมวดหมู่ของใช้ในบ้าน และมีรูปแบบการซื้อของใหม่ซ้ำทุกๆ สองเดือน คนเดียวกันนี้อาจโดยสารรถไฟฟ้าแล้วขึ้นลงที่สถานีหนึ่งๆ เป็นประจำ หรือเติมน้ำมันที่ปั๊มใด ละแวกใด สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาระบุตัวตนคนคนหนึ่งและลักษณะการใช้ชีวิตส่วนตัว



กฎหมายข้อมูลจึงเป็น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทุกคนในสังคมเรา เรามีสถานะเป็น "เจ้าของข้อมูล"

ที่ไปใช้บริการต่างๆ หัวใจหลักของกฎหมายบอกว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของเรา เมื่อให้ใครไปแล้ว
เขาจะต้องเอาไปใช้ตามวัตถุประสงค์และความจำเป็น คือ นำไปใช้เท่าที่บอกว่าจะใช้ ไม่เอาไปใช้งานอื่นเกินเลยนอกจากนี้ เมื่อมีข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว ก็ต้องเก็บรักษาและใช้มันอย่างปลอดภัย จะเผยแพร่ต่อให้คนอื่นไม่ได้ถ้าไม่ได้ถามเราก่อน และเราในฐานะเจ้าของข้อมูล สามารถบอกเลิกการครอบครองข้อมูลนั้นได้

เวลานี้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลถูกประกาศใช้มาเกือบครบหนึ่งปีแล้ว คือประกาศมาตั้งแต่
วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 แต่กำหนดว่าบางหมวดนั้นจะยังไม่บังคับใช้ทันที จะให้เวลาหนึ่งปีเพื่อให้
เตรียมตัว ก่อนจะบังคับใช้กฎหมายทั้งฉบับในวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ความกังวลที่หลายฝ่ายอาจ
รู้สึกว่ายังไม่พร้อม ก็คือกลัวว่า หากหน่วยงานจำนวนหนึ่งทำอะไรผิดพลาดไปแล้วจะทำให้โดนจับ
หรือไม่ซึ่งดูเหมือนจะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเนื้อหาใจความหลักของกฎหมาย เน้นเป็นกฎหมายที่เอา
ไว้ใช้ระบุมาตรฐานการทำงาน ไม่ใช่กฎหมายแบบแมวจับหนู และหากมีอะไรไม่เข้ามาตรฐานก็ยังมี
มาตรการแจ้งบอกและตักเตือน

ขอแนะนำการใช้ชีวิตแบบ NEW Normal 
ในความหมาย บัญญัติศัพท์ "New normal" หมายถึง ความปรกติใหม่ หรือฐานวิถีชีวิตใหม่
เราทุกคนในฐานะประชากรที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้คงต้องอยู่ภายใต้กฏกติกาเดียวกันไม่ว่าจะเป็น
กฏทางสังคม กฏทางใช้ชีวิต หรือแม้แต่กฏทางธรรมชาติ ใครละเมิดต้องยอมรับความเสี่ยงด้วยตนเอง

 ref;/it24hrs ,  ราชบัณฑิตยสภา ,กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม