วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Soft Skill vs Hard Skill

วิจัยสะท้อนความต้องการของธุรกิจ
ในอนาคตจริงๆแล้ว ความสำเร็จที่แท้จริงนั้น โลกไม่ได้ต้องการ สิ่งที่โลกเคยพูดถึง นั่นคือ STEM สะเต็มย่อมาจาก ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ เหมือนยุคที่ผ่านมา ผลวิจัยของ Google ได้วิจัยสรุปออกมาว่า คนที่จะประสบความสำเร็จ และช่วยองค์กรได้ดีจริงๆนั้น จะต้องมีคุณลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. being a good coach; การเป็นโค้ชที่ดี คำนี้ฟังยากนิดหน่อย แต่เป็นคำทันสมัยมาก โค้ชคือผู้นำทาง โดยเฉพาะ Life Coach หรือ โค้ชชีวิต นำผู้อื่นได้โดยการตั้งคำถาม แต่ไม่ใช่บอกตรงๆ

2. communicating and listening well; มีทักษะการสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี และ เป็นผู้รับฟังผู้อื่นเป็น

3. possessing insights into others (including others different values and points of view); มีส่วนร่วมกับ (จิตใจ) ของผู้อื่น (รวมทั้งคุณค่าหรือสิ่งที่ดี หรือทัศนคติของผู้อื่นที่ไม่ตรงกับเรา)

4. having empathy toward and being supportive of one’s colleagues; มีความเห็นอกเห็นใจและคอยช่วยเหลือเพื่อน (หรือ ผู้อื่น) สังเกตคำว่า empathy ไม่ใช่ sympathy คือ empathy นั้นคือเห็นอกเห็นใจในทุกข์ของผู้อื่น แต่ไม่ถลำจนตัวเราทุกข์ไปด้วย ต่างกับ sympathy ซึ่งจะถลำตัวเองไปทุกข์ด้วย ซึ่งไม่จำเป็นต้องขนาดนั้น (ข้อนี้ผมเรียนรู้จากท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช จากการฟังบันทึกการบรรยายท่านใน GoToKnow โดยตรง)

5. being a good critical thinker and problem solver; มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้

6. being able to make connections across complex ideas. มีทักษะในการเชื่อมโยงความคิดข้ามไปข้ามมาในเรื่องที่หลากหลาย

แต่ถ้าพูดถึงทักษะการคิดสร้างสรรค์ การหาทางออกของปัญหา และความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆที่หลากหลายน่าจะเป็นพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดความสมดุลย์



     ยุคถัดจากนี้ไปสิ่งที่พวกเราๆท่านๆ มี Hard Skill (ทักษะแข็ง) คือทักษะที่จำเป็นในการทำงานในแต่ละสายอาชีพ เช่น ถ้าคุณเป็นทนาย คุณต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆและสามารถร่างสัญญาได้ ถ้าคุณเป็นวิศวกร คุณต้องรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและหลักการคำนวณ ว่ากันง่ายๆคือ ทักษะส่วนใหญ่ที่คุณเรียนมาในมหาวิทยาลัย ส่วนทักษะนิ่มนั้น มีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยเป็นทักษะที่สามารถใช้ได้กับทุกสายอาชีพ ประกอบด้วยทักษะการสื่อสารและพัฒนาแนวคิดเป็นหลัก
     ในทุกวันนี้การมีปริญญาถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะการไขว่คว้าหาข้อมูลสามารถทำได้อย่างสะดวกโดยเพียงไม่กี่แค่คลิกบนหน้าคอมพิวเตอร์ของคุณ เพราะฉะนั้น Hard Skill จึงไม่ใช่อะไรที่หายากในตลาดแรงงานอีกแล้ว ในทางกลับกัน Soft Skill กลับเป็นทักษะที่ขาดตลาดมากในทุกวันนี้ และเป็นที่ต้องการของทุกๆบริษัทไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม

refer ; google , www.glurr.com

วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เทคโนโลยีเปลี่ยนความติด

     คนในโลกยุคปัจจุบันนี้ หวาดกลัวการมาถึงของ Automation Era  (ยุคของระบบอัตโนมัติ) สาเหตุหนึ่งเป็น เพราะตัวอย่างที่มีให้เห็นมากมายของโลกธุรกิจในปัจจุบัน เช่น Blockbuster Video ซึ่งเคยมีพนักงาน 60,000 คน และสาขาอีกกว่า 9,000 สาขา ถูกแทนที่ด้วย Netflix กับ Redbox Kiosks ซึ่งมีพนักงานแค่ 2,450 คนเท่านั้น เนื่องจากการทำระบบอัตโนมัตินี้ ไม่ต้องการวันหยุดพักผ่อน ไม่ต้องการสวัสดิการ และบริหารจัดการง่ายเพราะไม่ตั้งคำถามอะไร ต้นทุนทางธุรกิจก็จะลดลงไปเป็นอย่างมาก
     ผู้บริหารของบริษัทหลายๆที่จึงมีแนวคิดที่จะลดแรงงานคน และแทนที่ด้วยเครื่องจักรแทนให้มากที่สุด เช่น Henry Ford ผู้ก่อตั้งบริษัท Ford Motor ได้เคยแสดงเจตนารมณ์ว่า เขาไม่ต้องการความคิดสร้างสรรค์หรือการตัดสินใจของคน เขาต้องการแค่ให้คนทำทำทำ ในสิ่งที่เขาต้องการโดยไม่ตั้งคำถามเท่านั้น (นั่นก็คือการทำงานแบบเครื่องจักรนั้นเอง)
     ข้อมูลจากบริษัทวิจัยชื่อดัง Gartner Group ก็มีการพยากรณ์ออกมาในแนวทางเดียวกัน คือ ภายในปี 2025 (พ.ศ. 2568) หนึ่งในสามของงานในปัจจุบันจะถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ หรือ Robot และภายในปี 2040 (พ.ศ. 2573) กว่า 90%ของงานทั้งหมดในปัจจุบัน จะถูกแทนที่โดย Smart Machine


     นอกจากนั้น Dr.David Autor อาจาร์ยจากมหาวิทยาลัย MIT ซึ่งศึกษาและติดตามผล กระทบของเครื่องจักรอัตโนมัติ กับตลาดแรงงานอย่างใกล้ชิด ได้ออกมากล่าวว่า เทคโนโลยีทำให้ตลาดต้องการแรงงานที่มีฝีมือมากขึ้น ผนวกกับถ้าเราใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรมากขึ้น ก็จะทำ ให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์สูงสุด เพราะถ้างานที่ยากๆ หากไม่มีเครื่องจักรเข้ามาช่วยแล้วละก็ ลำพังแรงงานคนอย่างเดียวก็ไม่สามารถไปถึงจุดนั้นได้

ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด

     เนื่องจากการทำระบบอัตโนมัตินี้ ไม่ต้องการวันหยุดพักผ่อน ไม่ต้องการสวัสดิการและบริหารจัดการ
ง่ายเพราะไม่ตั้งคำถามอะไร ต้นทุนทางธุรกิจก็จะลดลงไปเป็นอย่างมาก
      พนักงานทั้งหลายควรกลับมาคิดถึงอาชีพที่ทำอยู่ปัจจุบันว่า จะไปในทิศทางใด

refer ; www.g-able.com

วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

แนวโน้มสำคัญของการทำงานในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและการทำงานภายในองค์กร
   แนวโน้มดังกล่าวคือบรรดาเทคโนโลยีทั้งหลายจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งแรงผลักดัน
ทางเทคโนโลยีที่รุนแรงขึ้นในปัจจุบัน แนวโน้มสำคัญของการทำงานในอนาคตที่จะปรับเปลี่ยน
รูปแบบการทำงานขององค์กรของเราเอง จนเราต้องพัฒนาตัวเองโดยการเรียนรู้รอบตัวหรือไปหาความรู้โดยไปอบรมในสถานที่มีผู้รู้ถ่ายทอดให้ เช่น

Big Data และ Data Analysis

การใช้ข้อมูลจำนวนมากในปัจจุบันจะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 เท่าในปี 2016  
ซึ่งข้อมูลจากโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค วิดีโอและภาพ จะกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญในการเรียนรู้
เกี่ยวกับลูกค้า ทำให้ให้รูปแบบการเข้าถึงลูกค้าจะเปลี่ยนไปจากเดิม  อาจบอกได้ว่า ถ้าธุรกิจ
นั้นๆสามารถทำระบบโครงสร้างพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าสำเร็จ จะบอกได้ว่าลูกค้ามี
ความต้องการในผลิตภัณฑ์ด้านไหน และเซิร์ฟแต่สิ่งที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น ทำให้พวกลดต้นทุน
ในภาพรวมได้หลายอย่าง และยังสามารถเอาใจลูกค้า จนในระยะยาวที่จะเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อเข้าถึงลูกค้าทำให้ลูกค้าเกิดความจงรักภัคดีย์ต่อ brand นั้นๆ

ระบบที่เต็มไปด้วยการใช้งานเฉพาะเจาะจง

แนวโน้มนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบอัจฉริยะ เช่น AI และ Machine Learning ที่ถูกผสมผสานกับการวิเคราะห์เพื่อช่วยให้สามารถค้นพบเนื้อหาได้แบบเฉพาะเจาะจง เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในแนวโน้มสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในปี 2017 ผ่านการทำงานร่วมกับ Big Data ที่จะเก็บเนื้อหาต่างๆ เช่น การประชุม รายละเอียดของงานนำเสนอ และการสนทนา ทำให้ทำการค้นหาและนำมาปรับปรุงได้รวดเร็ว เปรียบได้กับห้องสมุดในยุคดิจิทัลที่เพียงแค่ Search ในช่วงเวลาต่อไปคงจะต้องมีการแขร์ข้อมูลเหล่านี้ร่วมกัน

การเขียนโปรแกรมการใช้งานที่คล่องตัว

เพื่อผลักดันให้มีการทำงานร่วมกันขององค์กรอย่างแท้จริง และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การเขียนโปรแกรมที่จะใช้ในองค์กรต้องมีความยืดหยุ่น ซึ่งวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพต้องมีวิวัฒนาการพร้อมกับการใช้ทีมงานที่ต้องการใช้งานซอฟแวร์นั้นๆ  ปัจจุบันหลายองค์กรใช้เทคโนโลยีที่อิงกับมาตรฐานที่ควรจะเป็น แต่มักจะมีกำแพงรอบ ๆ เทคโนโลยีเหล่านี้ปิดกั้นพวกเขาไม่ให้ทำงานร่วมกันในวงกว้างได้มากนัก จึงมีแนวคิดอย่างหนึ่งที่ชื่อว่า Open  Standards ที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเปิดให้ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากโซลูชันด้านการทำงานร่วมกันได้ เพื่อเพิ่มความยืดยุ่นในระบบการทำงาน และอาจจะตัดงบบางส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปได้

    แนวโน้มรูปแบบนี้ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนระบบการทำงานภายในองค์กรให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจรุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบสำคัญของธุรกิจ เช่น Digital Startup ที่นอกจากจะต้องเรียนรู้และก้าวให้ทันเทคโนโลยีแล้ว ยังต้องปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมและตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่อีกด้วย


อ้างอิง www.depa.or.th