วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562

จิตวิทยากับ Coding

การเขียนโปรแกรมหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Programming (โปรแกรมมิ่ง) หรือ coding (โค้ดดิ้ง) 
นั้น หมายถึงการเขียนชุดคำสั่งเพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานตามที่เราต้องการ โดยทั่วไปที่นักเรียน นักศึกษา ด้านคอมพิวเตอร์หรือไอทีฝึกเขียนกันอยู่นั้นก็จะเลือกภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งเพื่อนำมาฝึกเขียน เป็นความหมายด้าน Computer ในยุคเก่า แต่.... 
ปัจจุบันมีความคิดตกผลึก ให้ความหมายเพิ่มเติมของคำว่า โค้ดดิ้ง และนำมาสอนพัฒนาเป็นวิชา (วิทยาการคำนวณ)เพิ่มเติมลงในหลักสูตรการเรียนการสอนในห้องเรียนกับเด็กเล็ก โดยหวังผลว่าจะทำให้เด็กในยุคดิจิตอล ก่อเกิดทักษะที่ช่วยให้เด็กคิดทุกเรื่องอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดทักษะการแก้ปัญหา คือ สามารถแตกปัญหาออกเป็นส่วนๆ เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขในแต่ละส่วนไปทีละเปลาะ อีกทั้งในแต่ละขั้นตอนการเขียนโค้ดจะได้เรียนรู้ระบบการวางแผน เมื่อฝึกฝนไปสักพักก็จะทำให้เข้าใจหลักการและจับประเด็นได้ดีขึ้น และในหลักการต่างๆ แฝงไว้ด้วยหลักจิตวิทยาที่ช่วยในเรื่องนำไปใช้ในระหว่างการเรียนการสอน จะทำให้เกิดการพัฒนา มีนักจิตวิทยาหลายท่านให้เชิงทฤษฎีและแนวคิด เช่น



มีนักจิตวิทยาหลายท่านที่สนใจเรื่องพัฒนาการของเด็กแล้วนำไปสู่การเอาตัวรอด (Survive)
ในแต่ละยุคสมัย ก็หวังว่า ผู้ใหญ่ในยุคนี้จะช่วยให้เด็กยุคนี้มีวิวัฒนาการเอาตัวรอดในเรื่องการศึกษา
หรือแม้แต่เรื่องสังคมกับชีวิตจริงที่จะต้องดำเนินชีวิตต่อไปให้ได้ไม่ว่าจะเกิดเรื่องดีหรือร้ายเกิด
แต่เราคนไทยมีของดีอยู่กับตัว คือ พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้า
เป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ
ศาสนา หมายถึง คำสั่งสอนของพระศาสดาที่มุ่งให้มนุษย์ละเว้นความชั่ว กระทำความดี
และรู้จักควบคุมดูแลตนเองให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี โดยมิต้องให้ผู้อื่นคอยว่ากล่าวตักเตือน
ผมว่าแค่นี้ก็ครอบคลุมไปหมดแล้วในโลกใบนี้.....
ref; sites.google.com/site/buddhist1 / taiysawinee.blogspot.com