วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เทคโนโลยีไบโอเมตริก Biometric Technology

คำว่าไบโอเมตริก (Biometric) ประกอบขึ้น จากคำว่า ไบโอ (Bio) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิต และ คำว่าเมตริก (metrics) ซึ่งหมายถึงคุณลักษณะที่ สามารถถูกวัดค่า หรือประเมินจำนวนได้ เมื่อนำ ความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน ไบโอเมตริกก็ เลยหมายถึงเทคโนโลยีในการใช้คุณลักษณะหรือ พฤติกรรมบางอย่างในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นคุณลักษณะ ที่เป็นเอกลักษณ์ และสามารถเทียบวัดหรือนับ จำนวนได้มาผนวกเข้ากับหลักการทางสถิติ เพื่อการ แยกแยะ หรือจดจำแต่ละบุคคล หรืออีกในหนึ่ง
ไบโอแมทริกซ์ (biometrics) คือ วิธีการใช้ข้อมูลทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเฉพาะทางกายภาพหรือพฤติกรรม มาใช้ในการตรวจสิทธิหรือแสดงตน เช่น ลายนิ้วมือฝ่ามือ เสียง ม่านตา เรตินา ใบหน้า ดีเอ็นเอ ลายเซ็น เทคโนโลยีดังกล่าวมีให้เห็นกันเช่นในภาพยนต์แนว ไซ-ไฟ

การใช้งานเทคโนโลยีไบโอเมตริกมีอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่
       1.  การระบุตัวผู้ใช้ (Identification) หรือการจับคู่เปรียบเทียบแบบหนึ่งต่อจำนวน มากกว่า (1:N)
            โดยการนำตัวอย่างๆ หนึ่งไป เปรียบเทียบกับข้อมูลที่รวบรวมไว้
       2.  การตรวจพิสูจน์ตัวผู้ใช้ (Verification) หรือการจับคู่เปรียบเทียบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1) โดย
            ระบบจะตรวจสอบตัวอย่าง ๆ หนึ่งว่าตรงกันกับ ข้อมูลที่ได้ถูกเก็บไว้ก่อนหน้าหรือไม่ โดยผู้
            ใช้จะต้องการป้อนรหัสประจำตัวหรือ PIN (Personal Identification Number) ที่ระบุถึงตัว
             ผู้ใช้เองก่อนแล้วจึงค่อยส่งข้อมูลทางไบโอเมตริกของตนเองให้ กับระบบ หลังจากนั้นระบบ
             จะตรวจดูว่าข้อมูลที่ได้ รับมาตรงกับข้อมูลที่ได้ถูกบันทึกไว้ก่อนหน้านี้หรือ ไม่ โดยจะเป็น
             การตรวจสอบแบบข้อมูลแบบหนึ่ง ต่อหนึ่ง

ขั้นตอนของเทคโนโลยีไบโอเมตริก
        1. เก็บตัวอย่างคุณลักษณะที่ต้องการวัด เช่น สแกนลายนิ้วมือออกมาเป็นภาพถ่ายลายนิ้วมือ
        2. เก็บข้อมูลไบโอเมตริกจากตัวอย่าง ที่สแกนได้ จะเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากภาพถ่าย ลายนิ้วมือ              ด้วยการคำนวณโดยใช้อัลกอริทึ่มเฉพาะ
        3. เปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณที่วัดได้จาก ข้อสอง กับข้อมูลที่ได้บันทึกเอาไว้ก่อนหน้านี้
            ซึ่งอาจบันทึกไว้ในฐานข้อมูลกลาง หรือบันทึกไว้บน สมาร์ทการ์ด
        4. พิจารณาผลการเปรียบเทียบว่า ถูกต้อง ตรงกันหรือไม่
        5. ตัดสินว่าบุคคลนี้เป็นใคร (Identification) หรือเป็นตัวจริงตามที่มีการกล่าวอ้าง (Verification)                    หรือไม่

การนำเทคโนโลยีไบโอเมตริกมาใช้
เทคโนโลยีไบโอเมตริก เป็นการเพิ่มความ ปลอดภัยให้กับองค์กรหรือแม้แต่ระดับประเทศเอง เนื่องจากสามารถป้องกันบุคคลที่น่าสงสัย หรือผู้ไม่ ประสงค์ดีเข้ามาก่อกวนได้ ดังนั้นในปัจจุบันจึงเริ่มมี การนำเทคโนโลยีทางด้านนี้ไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ในงานหลาย ๆ ด้าน เช่น
           - งานทางด้านกฎหมาย (Law enforcement) : เกี่ยวกับอาชกรข้ามชาติการสืบสวน
              การกระทำผิดทางอาญา ช่วยผู้รักษากฎหมายในการจับกุมตัวผู้ กระทำผิด,
           - องค์กรหรือหน่วยงาน (Government) : องค์กร เกี่ยวกับการค้นคว้าและวิจัยที่เป็นส่วนความลับ                 ของบริษัทหรือของหน่วยงาน, การระวังภัยเข้า- ออกบริษัท
           - ทางการทหาร (Military) : เขตแดนและ พรมแดนที่มีการค้าขาย, ระวังภัยสำหรับบุคคลสำคัญๆ                รวมถึงการตรวจสอบพาสปอร์ตในรูป ของ E-passport โดยอาศัยการบันทึกข้อมูล
              ชีวภาพ (Biometric Data) ได้แก่ ลายนิ้วมือ และรูปใบหน้า ไว้ใน Contact less Integrated
              Circuit  ซึ่งฝังอยู่ใน passport
           - ระบบความปลอดภัยของระบบเน็ตเวิร์ค( Network Security ):ธุรกิจองค์กรอินเทอร์เน็ต ,                            Extranets. VPNs, บริษัททำเกี่ยวกับซอฟแวร์ ดีไซต์ - ธุรกิจต่าง ๆ,
              การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างองค์กร, การจ่ายเงินผ่านเครือข่าย,
               การเรียกใช้งานศูนย์บริการ, การใช้ไบโอเมตริก แทนกระเป๋าสตางค์ เป็นต้น
            - งานทางด้านธนาคาร (Banks) : ATM, VPNs, สาขาย่อยอัตโนมัติอย่าง ATM Express
            - ความปลอดภัยสำหรับบุคคล ( Individual ) : ความปลอดภัยสำหรับคอมพืวเตอร์ส่วนบุคคล                      (Pc-Security), ระบบล็อกประตูห้อง, การเรียน แบบออนไลต์(E- learning)

จากข้อมูลเบื้องต้น เทคโนโลยีไบโอ เมตริกเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการตรวจสอบความ ถูกต้องของบุคคลจากลักษณะทางกายภาพของ มนุษย์ ซึ่งสามารถแยกความแตกต่างมนุษย์ทุก คนในโลกได้ ดังนั้นจึงช่วยในเรื่องความปลอดภัย โดยการป้องกันการแอบอ้างสิทธิของบุคคลอื่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทุกองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ การนำระบบนี้ไปใช้ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิด ขึ้นกับคนในองค์กรหรือลูกค้าภายนอกองค์กร อีกด้วย

ref; hitop.co.th ,thonburi-u.ac.th,อัศวิน รุ่งแสงเงิน: “เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์”, มกราคม 2546