วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ไบโอเมทริกซ์ (ฺBiometric)

      คำว่าไบโอเมตริก(Biometric)ประกอบขึ้นจากคำว่าไบโอ(Bio)ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตและคำว่าเมตริก(metrics) ซึ่งหมายถึงคุณลักษณะที่สามารถถูกวัดค่าหรือประเมินจำนวนได้เมื่อนำความหมาย
ของทั้ง 2 คำมารวมกันไบโอเมตริกก็เลยหมายถึงเทคโนโลยีในการใช้คุณลักษณะหรือพฤติกรรมบางอย่างในสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ และสามารถเทียบวัดหรือนับจำนวนได้มา
ผนวกเข้ากับหลักการทางสถิติเพื่อการแยกแยะหรือจดจำแต่ละบุคค

ไบโอแมทริกซ์ (biometrics) คือ วิธีการใช้ข้อมูลทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเฉพาะทางกายภาพหรือพฤติกรรม มาใช้ในการตรวจสิทธิหรือแสดงตน เช่น ลายนิ้วมือฝ่ามือ เสียง ม่านตา เรตินา ใบหน้า ดีเอ็นเอ ลายเซ็น เทคโนโลยีดังกล่าวมีให้เห็นกันเช่น ในภาพยนต์แนว ไซ-ไฟ จนปัจจุบันได้นำมาใช้งานจริงกันแล้ว

การใช้งานเทคโนโลยีไบโอเมตริก   มีอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่
     1. การระบุตัวผู้ใช้ (Identification) หรือการจับคู่เปรียบเทียบแบบหนึ่งต่อจำนวน มากกว่า (1:N) โดยการนำตัวอย่างๆ หนึ่งไป เปรียบเทียบกับข้อมูลที่รวบรวมไว้ โดยการระบุตัว ผู้ใช้นั้น ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลทางไบโอเมตริก ของตนเอง เช่น จากการวางนิ้วมือลงยังเครื่องอ่าน ล ายนิ้ วมือ ก า รถ่ ายภ าพใบหน้ า ให้กับ ร ะบ บเสียก่อน หลังจากนั้น ระบบจะทำการจับคู่ข้อมูล ที่ได้รับมากับข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูล เพื่อระบุว่า ผู้ที่ส่งข้อมูลมาเป็นใคร แน่นอนกระบวนการที่ ว่านี้จะค่อนข้างใช้เวลานาน เพราะระบบต้องมีการ เปรียบเทียบข้อมูลเป็นจำนวนมากนั่นเอง
      2. การตรวจพิสูจน์ตัวผู้ใช้ (Verification) หรือการจับคู่เปรียบเทียบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1) โดยระบบจะตรวจสอบตัวอย่าง ๆ หนึ่งว่าตรงกันกับ ข้อมูลที่ได้ถูกเก็บไว้ก่อนหน้าหรือไม่ โดยผู้ใช้จะ ต้องการป้อนรหัสประจำตัวหรือ PIN (Personal Identification Number) ที่ระบุถึงตัวผู้ใช้เองก่อน แล้วจึงค่อยส่งข้อมูลทางไบโอเมตริกของตนเองให้ กับระบบ หลังจากนั้นระบบจะตรวจดูว่าข้อมูล ที่ได้ รับมาตรงกับข้อมูลที่ได้ถูกบันทึกไว้ก่อนหน้านี้หรือ ไม่ โดยจะเป็นการตรวจสอบ แบบข้อมูลแบบหนึ่ง ต่อหนึ่ง กระบวนที่ใช้โดยทั่วไปจึงกินเวลาไม่มาก เพราะข้อมูลที่ต้องเปรียบเทียบไม่มาก เหมือนอย่าง กรณีของกระบวนการระบุตัวผู้ใช้ ความแม่นยำของ ระบบไบโอเมตริกสามารถจะถูกเทียบวัดจากค่า FRR (False Rejection Rate) ซึ่งหมายถึง ค่าอัตราการหลุดรอดของผู้แปลกปลอมจากการ ตรวจจับ และค่า FAR (False Acceptance Rate) ซึ่งหมายถึง ค่าอัตราการปฏิเสธการผ่านแก่ผู้ใช้ที่ถูก ต้อง โดยทั่วไปค่า FRR จะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 0.1% ส่วนค่า FAR นั้นจะมีค่าอยู่ที่ ประมาณ 0.001% ทั้งนี้ค่า FRR และ FAR เป็นค่าที่ค้านซึ่ง กันและกันอยู่ เพราะเมื่อ FAR มีค่าสูง FRR ก็จะมี ค่าต่ำไปโดยอัตโนมัติ ในระบบรักษาความปลอดภัย ด้วยไบโอเมตริก ค่า FRR และ FAR จะเป็นค่าที่ สามารถถูกปรับตั้งได้ ตามความต้องการของผู้ติด ตั้งระบบ ว่าต้องการให้มีระดับความปลอดภัยอยู่ มากน้อยเพียงใด

 ขั้นตอนของเทคโนโลยีไบโอเมตริก
     1. เก็บตัวอย่างคุณลักษณะที่ต้องการวัด เช่น สแกนลายนิ้วมือออกมาเป็นภาพถ่ายลายนิ้วมือ
     2. เก็บข้อมูลไบโอเมตริกจากตัวอย่าง ที่สแกนได้ จะเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากภาพถ่าย ลายนิ้วมือ                ด้วยการคำนวณโดยใช้อัลกอริทึ่มเฉพาะ 
     3. เปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณที่วัดได้จาก ข้อสอง กับข้อมูลที่ได้บันทึกเอาไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจ              บันทึกไว้ในฐานข้อมูลกลาง หรือบันทึกไว้บน สมาร์ทการ์ด
     4. พิจารณาผลการเปรียบเทียบว่า ถูกต้อง ตรงกันหรือไม่
     5. ตัดสินว่าบุคคลนี้เป็นใคร (Identification) หรือเป็นตัวจริงตามที่กล่าวอ้าง (Verification) หรือไม

การนำเทคโนโลยีไบโอเมตริกมาใช
เทคโนโลยีไบโอเมตริก เป็นการเพิ่มความ ปลอดภัยให้กับองค์กรหรือแม้แต่ระดับประเทศเอง เนื่องจากสามารถป้องกันบุคคลที่น่าสงสัย หรือผู้ไม่ ประสงค์ดีเข้ามาก่อกวนได้ ดังนั้นในปัจจุบันจึงเริ่มมี การนำเทคโนโลยีทางด้านนี้ไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ในงานหลาย ๆ ด้าน เช่น

               - งานทางด้านกฎหมาย (Law enforcement)
               - องค์กรหรือหน่วยงาน (Government)
               - ทางการทหาร (Military)
               - ระบบความปลอดภัยของระบบเน็ตเวิร์ค Network Security )
               - ธุรกิจต่าง ๆ,
               - งานทางด้านธนาคาร (Banks)
               - ความปลอดภัยสำหรับบุคคล ( Individual )

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีไบโอ เมตริกเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการตรวจสอบความ ถูกต้องของบุคคลจากลักษณะทางกายภาพของ มนุษย์ ซึ่งสามารถแยกความแตกต่างมนุษย์ทุก คนในโลกได้ ดังนั้นจึงช่วยในเรื่องความปลอดภัย โดยการป้องกันการแอบอ้างสิทธิของบุคคลอื่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทุกองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ แต่ในการที่จะนำเทคโนโลยีไบโอเมตริกมาใช้ ควรพิจารณาถึงหลายปัจจัยหลายด้าน เช่น ด้านความคุ้มค่าที่จะลงทุนนำระบบนี้มาใช้หรือไม่ สังคมยอมรับกับระบบนี้หรือไม่ เทคโนโลยีนี้สอดคล้องกับการดำรงชีวิตในยุคนี้หรือไม่ ความจำเป็น ฯลฯ

Ref; thonburi-u.ac.th /อัศวิน รุ่งแสงเงิน: “เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์”, มกราคม 2546