วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

NDID (National Digital ID)

หลายปีที่ผ่านมานี้ คนไทยคงเคยได้ยินคำว่า Digital ID โดยเฉพาะในยุคที่กระบวนการและธุรกรรมต่างๆ ถูกยกขึ้นสู่โลกดิจิทัล ซึ่งนำมาเปลี่ยนแปลงการใช้วิธีการแบบเดิมมากมาย ทั้งความรวดเร็วจากการส่งข้อมูลในรูปแบบไฟล์บนอินเทอร์เน็ต ลดต้นทุนดำเนินการจากวัสดุและการเดินทางไปได้มากแต่ก็ใช่ว่า
การทำธุรกรรมทางดิจิทัลมีข้อดีอย่างเดียว เพราะทุกธุรกรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความน่าเชื่อถือระหว่างกัน ซึ่งกระบวนการทางดิจิทัลยังมีช่องโหว่ในจุดนี้ จากเหตุปลอมแปลงเอกสารและการปลอมแปลงตัวตนที่เกิดขึ้นหลายรูปแบบและส่งผลกระทบมากมาย
Digital ID คืออะไรและสำคัญอย่างไร
Digital ID คือคำกว้างๆ ที่สื่อถึงกระบวนการและขั้นตอนการยืนยันตัวเองด้วยช่องทางดิจิทัล ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอนที่แตกต่างกันตามแต่กำหนด แต่ทั้งหมดล้วนคิดขึ้นเพื่อการระบุอัตลักษณ์และคุณลักษณะของบุคคล (Identity) ทางดิจิทัล (Digital Identity) เหมือนกัน
               ปัจจุบัน หลายประเทศได้คิดค้นระบบนี้เพื่อใช้งานกับประชาชนในประเทศโดยมีมาตรฐานที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้ระบุคำนี้ว่า “ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล”

ปัจจุบัน ระบบนี้จะใช้คำอธิบายองค์ประกอบอ้างอิงจากมาตรฐาน NIST 800-63-3 Digital Identity Guideline ของสหัรฐอเมริกา ซึ่งมีองค์ประกอบในกระบวนการอยู่ 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่

  • Entity ผู้ขอใช้บริการพิสูจน์อัตลักษณ์ ซึ่งก็คือประชาชนทั่วไปอย่างเราที่ต้องพิสูจน์ตัวตนก่อนใช้บริการ รวมถึงนิติบุคคลที่ต้องการใช้บริการด้วย
  • IdProvider ผู้ให้บริการด้านการเข้าถึงข้อมูล ทำหน้าที่บริหารข้อมูลในกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลแก่ผู้ใช้และ Relying Party
  • Authorising Source หน่วยงานผู้เข้าถึงหรือเป็นเจ้าของข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลดิจิทัล เป็นผู้ยืนยันความน่าเชื่อถือของข้อมูลบุคคล มักเป็นหน่วยงานเก็บข้อมูลซึ่งทำหน้าที่นี้อยู่เดิม ได้แก่ กรมการปกครอง หรือ สำนักงานเครดิตบูโร
  • Relying Party ผู้ให้บริการที่ต้องการข้อมูลยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ เพื่ออนุมัติให้ผู้ใช้ได้รับบริการบางอย่าง โดย Relying Party จะขอข้อมูลจาก IdProvider และ Authorising Source

ในการทำงานของระบบนี้จะมีกระบวนการที่ประชาชนทั่วไปใช้งานหลักๆ อยู่ 2 กระบวนการ ได้แก่กระบวนการพิสูจน์ตัวตน (Identification) และขั้นตอนการยืนยันตัวตน (Authentication)

ตัวอย่างการใช้งาน

  • การขอเอกสารราชการ ปัจจุบันการติดต่อกับราชการเพื่อขอเอกสารต่างๆ มีกรรมวิธีที่ซับซ้อนเพื่อความปลอดภัยซึ่งสิ่งที่ตามมาคือกระดาษและขั้นตอนต่างๆ ที่นับเป็นต้นทุนทางการเงินและเวลา ซึ่งหากเราสามารถนำ NDID มาใช้ในกระบวนการยืนยันตัวตนก็จะช่วยลดการใช้งานเอกสารรูปแบบกระดาษลงไปได้มาก โดยสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วที่ประเทศอังกฤษ​ซึ่งลดต้นทุนเอกสารสำหรับดำเนินการได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์
  • มิติใหม่ของการทำธุรกรรม ไม่เพียงแต่การติดต่อกับราชการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงธุรกรรมที่ต้องดำเนินการกับภาคการเงิน NDID จะเข้าไปมีส่วนช่วยให้การติดต่อทำธุรกรรมเกิดขึ้นได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ผ่านช่องทางดิจิทัล และปลอดภัยมากขึ้นจากกระบวนการยืนยันตัวตนอันยากต่อการปลอมแปลง ความสะดวกรวดเร็วจากกระบวนการที่สามารถเกิดขึ้นทางดิจิทัลมีส่วนช่วยลดต้นทุนอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น หากประชาชนสามารถยื่นเอกสารดิจิทัลขอเงินกู้และทราบผลทางออนไลน์ได้ในเวลาอันสั้น ก็ะจะลดต้นทุนดำเนินการไปอย่างมาก ซึ่งหากทุกคนได้ใช้ระบบนี้ก็จะนำไปสู่การลดต้นทุนทางเศรษฐกิจในภาพรวม


จากข้อมูลข้างต้น ณ ปัจจุบัน จึงเกิดโครงการ National Digital ID หรือ NDID ที่ใช้เพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีตัวกลางคือ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด จะทำหน้าเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาครัฐและเอกชน และได้ถูกใช้งาน ดังคลิปแสดงถึงวิธีการเปิดบัญชีใหม่ข้ามธนาคารโดยไม่ต้องไปที่ธนาคารที่ต้องการเปิด และอนาคตอาจเผยแพร่วิธี NDID ไปตามสาขาอาชีพอื่นด้วย

Ref;techsauce.co , brandinside.asia , beartai