ในบทความนี้ขออ้างถึงสิ่งที่วางรากฐานความคิดเยาวชนไทยให้อยู่ได้ในอนาคตบนโลกดิจิตอล
วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย
“วิทยาการคำนวณ” คือวิชาที่ปรับหลักสูตรมาจากวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ต่อไปนี้เด็กตั้งแต่ประถม ถึงระดับมัธยม จะได้ร่ำเรียนกัน ถือว่าเป็นวิชาบังคับนะครับ อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พอเปิดเทอมพฤษภาคมปี 2561 ก็เริ่มเรียนแล้ว
ในหลักสูตรที่น่าสนใจ
เนื้อหาในระดับพื้นฐาน
- วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science: CS)
- เทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication Technology: ICT)
- การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy: DL)
เนื้อหาเด่นของวิชานี้คือ พื้นฐานการคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) ที่มี 4 องค์ประกอบสำคัญ
- การแบ่งปัญหาใหญ่ให้เป็นปัญหาย่อย (decomposition)
- การมองหารูปแบบของปัญหา (pattern recognition)
- การคิดเชิงนามธรรม (abstraction)
- ออกแบบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา (algorithm design)
การวัดผล “เน้นการคิดให้เป็น” มากกว่าการท่องจำ
โดยเด็กเล็กจะวัดผลจากกิจกรรมในห้องเรียนและการสังเกตพฤติกรรม เช่น ให้เขียนขั้นตอนการทำไข่เจียวเพื่อวัดผลเรื่องอัลกอริทึมง่ายๆ
ส่วนเด็กโตจะเริ่มวัดผลแบบข้อเขียน แต่เปิดกว้างและเน้นคิดมากกว่าการท่องจำ
ดังนั้น วิชานี้ไม่ได้ทำให้ลูกยิ่งติดหน้าจอ ติดเกม หรือโลกโซเชียล
เพราะหัวใจหลักสูตรต้องการ “ให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ได้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาจากข้อมูลได้ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี”
ผมเห็นชอบด้วยในเนื้อหาเด่นไม่ได้เน้นแต่วิชาการ แต่สอนคิดเป็นแบบเป็นระบบและสามารถประยุกต์ใช้วิธีคิดเชิงคำนวณได้กับทุกสาขาอาชีพ แม้แต่กับดำเนินชีวิตจริง ผลที่จะได้คงจะนำพาให้มีการพัฒนาวิทยาการอีกหลายแขนงวิชา
ref; kruvoice.com, th.wikipedia.org, twitter.com/eduzones ,ขอบคุณรูปภาพจาก myfirstBrain.com
วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562
วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562
สายงานอาชีพด้าน IT
สาย IT เส้นทางอาชีพยุคปัจจุบัน
สายผู้บริหารไอที (IT Management)ผู้บริหารสารสนเทศขององค์กร (IT Management) จะต้องมีประสบการณ์ด้านสายงานไม่ต่ำกว่า 5 ปี
ถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลางตำแหน่งสูงสุดน่าจะเป็น IT/MIS Manager แต่ถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ขึ้นมาต่ำแหน่งระดับสูงที่ดูแลส่วนไอทีจะใช้ตัว C นำหน้า เช่น CIO, CTO อันนี้ก็แล้วแต่ว่าแต่ละบริษัทจะมีความต้องการอะไร
อาชีพสายนักเขียนโปรแกรม (Programmer Jobs)
สำหรับสายงานอาชีพด้านนักเขียนโปรแกรม ส่วนมากจะจบจากสาขา วิทยาการคอมพิวเตอร์(Computer Science) เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology) หรือ สายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) และนี่คือ อาชีพที่แบ่งออกตามสายงานด้านโปรแกรมเมอร์
สายงานด้านวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst Jobs)
นักวิเคราะห์ระบบงานจะทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบงาน ก่อนการส่งงานให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมสำหรับอาชีพสายนี้หากผ่านงานสาย การเขียนโปรแกรมมาก่อนจะเป็นการดีมาก
สายงานด้าน ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (Network Admin Jobs)
ผู้ดูแลระบบเครืองข่าย หรือ Admin จะเป็นผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร แบ่งได้ 3 สายย่อย ตามชนิดระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน สำหรับ งานสาย Network Admin Jobs แบ่งออกเป็นหลายตำแหน่งด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าหน่วยงานที่เราไปสมัครเขาเน้นใช้ OS ค่ายไหน
สายงานด้านเว็บไซต์ (Website)
สายงานด้านนี้ ปัจจุบันถือได้เป็นพื้นฐานของเกือบทุกสาขาอาชีพ เพราะคนหันมาใช้อินเทอร์เน็ตกันมากขึ้นเรื่อยๆ และนี่คือ สายงานอาชีพด้านเว็บไซต์
อาชีพสายฐานข้อมูล (Database Jobs)เป็นสายงานที่สำคัญอีกสายงานหนึ่ง เพราะ สายงานนี้จะทำหน้าที่ดูแลฐานข้อมูลขององค์กร ซึ่งต้องการคนที่ซื่อสัตย์ต่ออาชีพ เพราะอาจต้องเก็ยความลับขององค์กรต่างๆ
อาชีพสายคอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphic Jobs)
ผู้ที่ทำด้านนี้จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์และสามารถใช้โปรแกรมตกแต่งภาพต่างๆได้อย่างดี อาชีพสายคอมพิวเตอร์กราฟิกจึงเป็นส่วนหนึ่งของสายงานด้านเว็บไซต์
อาชีพสายการออกแบบ/เขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์/งานสามมิติ/Animationพวก IT Support หรือ Technicial Support เป็นตำแหน่งงานสาย IT ที่เน้นการปฏิบัติการเป็นหลัก คอยแก้ไขปัญหาจุกจิกเล็กๆ น้อยๆ ภายในบริษัท สโคปงานจะใกล้เคียงกันบ้าง
อาชีพสายผู้สนับสนุนไอที (IT Support Jobs)เป็นสายอาชีพที่คอยสนับสนุน และรู้เทคนิกต่างๆด้านฮาร์ดแวร์ได้ดี ถ้าเป็นช่างคอมพิวเตอร์มาก่อนจะได้เปรียบสายงานอื่นๆ
อาชีพสายผู้สอนหลักสูตรไอที / ฝึกอบรมด้านไอที
อาชีพคือ ครู,อาจารย์ ,วิทยากร ที่สอนนักเรียน นักศึกษา คนทั่วไป ในด้านไอทีนั้นเอง
อาชีพสายที่ปรึกษาไอที (IT Consultant Jobs)ให้ความเข้าใจและวิสัยทัศน์พร้อมแนวทางในโลกปัจจุบันที่เทคโลยี และเตรียมแผนการลงทุนและดำเนินการของฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำหรับสายงานอาชีพด้านนักเขียนโปรแกรม ส่วนมากจะจบจากสาขา วิทยาการคอมพิวเตอร์(Computer Science) เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology) หรือ สายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) และนี่คือ อาชีพที่แบ่งออกตามสายงานด้านโปรแกรมเมอร์
สายงานด้านวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst Jobs)
นักวิเคราะห์ระบบงานจะทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบงาน ก่อนการส่งงานให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมสำหรับอาชีพสายนี้หากผ่านงานสาย การเขียนโปรแกรมมาก่อนจะเป็นการดีมาก
สายงานด้าน ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (Network Admin Jobs)
ผู้ดูแลระบบเครืองข่าย หรือ Admin จะเป็นผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร แบ่งได้ 3 สายย่อย ตามชนิดระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน สำหรับ งานสาย Network Admin Jobs แบ่งออกเป็นหลายตำแหน่งด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าหน่วยงานที่เราไปสมัครเขาเน้นใช้ OS ค่ายไหน
สายงานด้านเว็บไซต์ (Website)
สายงานด้านนี้ ปัจจุบันถือได้เป็นพื้นฐานของเกือบทุกสาขาอาชีพ เพราะคนหันมาใช้อินเทอร์เน็ตกันมากขึ้นเรื่อยๆ และนี่คือ สายงานอาชีพด้านเว็บไซต์
อาชีพสายฐานข้อมูล (Database Jobs)เป็นสายงานที่สำคัญอีกสายงานหนึ่ง เพราะ สายงานนี้จะทำหน้าที่ดูแลฐานข้อมูลขององค์กร ซึ่งต้องการคนที่ซื่อสัตย์ต่ออาชีพ เพราะอาจต้องเก็ยความลับขององค์กรต่างๆ
อาชีพสายคอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphic Jobs)
ผู้ที่ทำด้านนี้จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์และสามารถใช้โปรแกรมตกแต่งภาพต่างๆได้อย่างดี อาชีพสายคอมพิวเตอร์กราฟิกจึงเป็นส่วนหนึ่งของสายงานด้านเว็บไซต์
อาชีพสายการออกแบบ/เขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์/งานสามมิติ/Animationพวก IT Support หรือ Technicial Support เป็นตำแหน่งงานสาย IT ที่เน้นการปฏิบัติการเป็นหลัก คอยแก้ไขปัญหาจุกจิกเล็กๆ น้อยๆ ภายในบริษัท สโคปงานจะใกล้เคียงกันบ้าง
อาชีพสายผู้สนับสนุนไอที (IT Support Jobs)เป็นสายอาชีพที่คอยสนับสนุน และรู้เทคนิกต่างๆด้านฮาร์ดแวร์ได้ดี ถ้าเป็นช่างคอมพิวเตอร์มาก่อนจะได้เปรียบสายงานอื่นๆ
อาชีพสายผู้สอนหลักสูตรไอที / ฝึกอบรมด้านไอที
อาชีพคือ ครู,อาจารย์ ,วิทยากร ที่สอนนักเรียน นักศึกษา คนทั่วไป ในด้านไอทีนั้นเอง
อาชีพสายที่ปรึกษาไอที (IT Consultant Jobs)ให้ความเข้าใจและวิสัยทัศน์พร้อมแนวทางในโลกปัจจุบันที่เทคโลยี และเตรียมแผนการลงทุนและดำเนินการของฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
จะเห็นได้ว่ายังมีหลายอาชีพ ที่มีความเกี่ยวโยงกันกับ IT อย่างเช่น พนักงานขายอุปกรณ์ไอที , นักข่าวสายไอที ,นักเขียนให้ความรู้ด้านไอที ,นักแคสท์เกม ,นักกีฬา E-Sport เป็นต้น
ref; เด็กฝึกงาน.com , unigang.com , dokbiaonline.com
ref; เด็กฝึกงาน.com , unigang.com , dokbiaonline.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)