บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร?
เปรียบเสมือนเครือข่ายการเก็บข้อมูลแบบหนึ่ง ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลเดียวกัน เราจึง
รู้ว่าใครมีสิทธิและเป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านี้จริงๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในแต่ละบล็อก (Block)
ที่เชื่อมโยงกันบนเครือข่ายเหมือนกับห่วงโซ่ (Chain) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัยน่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง
ผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ มีความเชื่อว่าจุดแข็งหรือประโยชน์ของการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายส่วน (distributed ledger) ทั้งในแง่ความปลอดภัย ประสิทธิภาพการดำเนินการจัดเก็บข้อมูล และความรวดเร็วของการทำธุรกรรมโดยปราศจากตัวกลาง ซึ่งเหนือกว่าระบบเทคโนโลยีแบบรวมศูนย์ (Centralized server-based system) ที่กำลังใช้กันอย่างแพร่หลาย
ในปัจจุบัน เช่น ระบบการประกอบธุรกิจและระบบการเงิน
นอกจากการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในภาคธุรกิจต่างๆแล้ว ก็ได้เริ่มมีแนวคิดของการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐเพื่อให้ตอบสนองกับ
พันธกิจและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
แนวคิดเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการขับเคลื่อนของภาครัฐภาครัฐ
ปัจจุบันหน่วยงานทุกภาคส่วน ย่อมต้องมีการเก็บข้อมูลหรือมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลที่มีความสำคัญ ซึ่งจะใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายสาธารณะและการดำเนินการอื่น ๆ ของรัฐบาลจำนวนมาก แม้ว่าประเทศไทยจะเริ่มใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศส่วนกลาง และนำระบบคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการบริหารจัดการอยู่บ้างแล้ว แต่ก็ยังประสบปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินการ โดยปัญหาหลักคือการเข้าถึงข้อมูลประการหนึ่ง และความโปร่งใสในการจัดเก็บข้อมูลอีกประการหนึ่ง
หน้าที่หลักที่สำคัญของภาครัฐคือ “การสร้างแรงจูงใจ” ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับการหาจุดสมประโยชน์ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง หรือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม เป็นเรื่องที่
ผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับสูงควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ตัวอย่างการนำบล็อกเชนมาปรับใช้กับการขับเคลื่อนของภาครัฐ
- การบริหารจัดการอัตลักษณ์บุคคล (identity management)
- การจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์
- การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเช่นนี้ต้องใช้เวลาและต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมและเป็นระบบ แม้กระทั่งประเทศที่เป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของโลกเองก็ยังใช้ระบบบล็อกเชนด้วยความระมัดระวัง โดยการทำโครงการนำร่องก่อนหรือการทดลองดำเนินการผ่าน regulatory sandbox ในกรณีที่ต้องการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการสาธารณะก่อนที่จะเริ่มใช้จริงและเริ่มมีการกำกับดูแล เหตุผลก็เพราะว่า การตัดสินใจลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานในลักษณะนี้จะต้องใช้เงินภาษีของประชาชนจำนวนมหาศาล นอกจากต้นทุนทางการเงินแล้ว การตัดสินใจวางนโยบายสาธารณะที่หละหลวมจะสร้างความเสียหายต่อประชาชนทั้งประเทศในแง่อื่น ๆ ตามมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
rfe ; www.lawreform.go.th , siambc.com