ควอนตัมคอมพิวเตอร์
แนวคิด ควอนตัมคอมพิวเตอร์ แบบย่อๆ ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะใช้หน่วยย่อยที่ต่างออกไปคือ "คิวบิต" (qubit) ซึ่งมีสถานะเป็น 1 และ 0 พร้อมกันได้ (ตามหลักของกลศาสตร์ควอนตัม) ทำให้วิธีการประมวลผลต่างออกไปจากคอมพิวเตอร์ปกติ และแก้ปัญหาที่คอมพิวเตอร์ปกติต้องใช้เวลานานมากในการประมวลผลได้เร็วขึ้นมาก
แนวคิด ควอนตัมคอมพิวเตอร์ แบบย่อๆ ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะใช้หน่วยย่อยที่ต่างออกไปคือ "คิวบิต" (qubit) ซึ่งมีสถานะเป็น 1 และ 0 พร้อมกันได้ (ตามหลักของกลศาสตร์ควอนตัม) ทำให้วิธีการประมวลผลต่างออกไปจากคอมพิวเตอร์ปกติ และแก้ปัญหาที่คอมพิวเตอร์ปกติต้องใช้เวลานานมากในการประมวลผลได้เร็วขึ้นมาก
ควอนตัมคอมพิวเตอร์ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดยนักฟิสิกส์ชื่อ นาย พอล เบนเนียบ (Paul Benioff) ผู้ซึ่งคนทั่วไปให้เครดิตเป็นคนแรกที่คิดขึ้นมาในปี 1981 นายเบนเนียบเรียกแนวคิดของเขาว่า ควอนตัมเทอริ่งแมสชีน (Quantum turing Machine) ซึ่ง คำว่า เทอริ่งแมสชีน มาจากรากฐานของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่
เทอริ่งแมสชีน เป็นเครื่องจักรที่พัฒนาขึ้นโดย นาย อลัน เทอริ่ง (Alan turing ) ในปี 1930 ภายในประกอบด้วยม้วนเทป ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล และมีหัวอ่านข้อมูลเมื่อเทปวิ่งผ่าน เป็นสัญญาณ 0 กับ 1 และแปรสัญญาณไปควบคุมเครื่องจักรอีกทีหนึ่ง โดยทำตามคำสั่ง 1 ครั้งต่อ 1 คำสั่ง
ขณะที่ ควอนตัมเทอริ่งแมสชีน ใช้พื้นฐานแบบเดียวกัน เพียงแต่ลดหัวอ่านเทป ให้มีขนาดเล็กลงอยู่ในระดับอะตอมแทน ซึ่งในระดับขนาดเล็กแบบนั้น ไม่ต้องทำงานเป็นอนุกรมเหมือนกับสายเทป และสามารถทำงานได้หลายคำสั่งในครั้งเดียว
คอมพิวเตอร์ของเทอริ่งในยุคแรกทำงานอยู่ได้เพียง 2 สถานะ คือ 0 กับ 1 ส่วนควอนตัมคอมพิวเตอร์ไม่ได้จำกัดการทำงานอยู่เพียง 2 สถานะนี้เท่านั้น ในระดับควอนตัมเราเรียกสถานะใหม่ว่า คิวบิท (qubits) ซึ่งสามารถแสดงสถานะ 1 หรือ 0 ได้ หรืออยู่ระหว่าง 1 กับ 0 ได้ทุกๆค่า หรือจะแบ่งซอยย่อยเป็นกี่พันกี่ล้านค่าก็ได้ คิวบิทคืออะตอมที่เป็นตัวเก็บ และประมวลผลข้อมูล ที่มีความสามารถอยู่ได้หลายสถานะในเวลาเดียวกันสถานะอันมากมายของคิวบิท ทำให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถทำการประมวลผลแบบขนานได้ ดังคำพูดของนักฟิสิกส์ นาย เดวิด ดอยส์ (David deutsch) ที่ว่า การประมวลผลแบบขนาน จะทำให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลคำสั่งนับล้านคำสั่งได้ในครั้งเดียว ขณะที่คอมพิวเตอร์ทั่วไป ต้องทำทีละคำสั่ง ดังนั้น ควอนตัมคอมพิวเตอร์ขนาด 30 คิวบิท เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์แบบเดิม จะเทียบเท่ากับความเร็ว 10 เทราฟลอบ (Teraflops) ซึ่งซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มีความเร็วสูงสุด มีอยู่เพียง 2 เทราฟลอบ คือมากว่าถึง 5 เท่า
ควอนตัมคอมพิวเตอร์ใช้คุณสมบัติทางควอนตัมที่เรียกว่า เอนแทงเกิลเมนต์ (entanglement) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับอะตอม โดยให้แรงภายนอกกระทำกับอะตอม 2 ตัวที่อยู่ใกล้กัน จะทำให้เกิดการ เอนแทงเกิลขึ้น แต่ถ้าอะตอมอยู่โดดเดี่ยว อะตอมตัวนั้นสามารถหมุนไปได้ทุกทิศทุกทาง จากการทดลองกับอะตอมสองตัวที่อยู่ใกล้กัน โดยให้ตัวแรกหมุนไปในทิศทางหนึ่ง ในขณะเดียวกันอะตอมที่สองจะหมุนไปในทิศตรงกันข้ามโดยอัตโนมัติ
ถ้าควอนตัมคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้งานทั่วๆไปได้ ความเร็วของมันนั้นจะไม่มีจุดสิ้นสุด มันจะมีความสามารถประมวลผลข้อมูลที่อยู่ในโลกนี้ทั้งหมดได้เพียงไม่กี่นาที และมีความสามารถอันน่าทึ่งที่จะเจาะเข้าหาข้อมูลของคอมพิวเตอร์ทุกแห่งในเวลาเพียงเศษเสี้ยวของวินาที
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่กำลังรอประมวลผล เมื่อใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ต้องใช้เวลาหลายเดือน เมื่อมาใช้ควอนตัมคอมพิวเตอร์ใช้เวลาเพียงแว๊บเดียว และการเคลื่อนย้ายมนุษย์ ที่เรียกว่า วิธีเทเลพอเทชั่น ก็สามารถกระทำได้ในเร็ววันนี้
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่กำลังรอประมวลผล เมื่อใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ต้องใช้เวลาหลายเดือน เมื่อมาใช้ควอนตัมคอมพิวเตอร์ใช้เวลาเพียงแว๊บเดียว และการเคลื่อนย้ายมนุษย์ ที่เรียกว่า วิธีเทเลพอเทชั่น ก็สามารถกระทำได้ในเร็ววันนี้