@ “ความสามารถในการเรียนรู้” ซึ่งไม่เกี่ยวกับไอคิวหรือความฉลาดเฉลียว ความสามารถในการเรียนรู้ในที่นี้หมายถึงการจับเอาข้อมูลหลาย ๆ อย่างมาผสมผสานก่อเป็นความรู้ในการทำงานให้สำเร็จได้ ด็กเรียนเก่งแต่ไม่สามารถนำมาใช้ในชีวิตจริง หยิบเอารายละเอียดจากแต่ละเรื่องที่อาจดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน มาโยงให้เป็นองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาได้ นั่นแหละคือคนทำงานเป็น
@ “ความเป็นผู้นำ” ในความหมายของโลกยุคใหม่ ไม่ใช่นิยามเก่า เช่นไม่จำเป็นต้องเป็นประธานชมรม ไม่ต้องเป็นหัวหน้ากลุ่มไหนในมหาวิทยาลัยมาก่อน ผู้นำของเราหมายความว่าเมื่อเกิดปัญหา คุณเป็นสมาชิกของทีมนั้น เมื่อได้จังหวะเวลาอันเหมาะสม คุณจะสามารถก้าวออกมานำคณะได้หรือไม่ และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือว่าเมื่อถึงเวลานั้น คุณสามารถถอยหลังและหยุดการเป็นหัวหน้าทีมและปล่อยให้คนอื่นนำได้หรือไม่?”
@ “ความถ่อมตนทางปัญญา” (intellectual humility) เพราะหากคุณไม่มีความเจียมตน, คุณก็ไม่สามารถจะเรียนรู้อะไรได้
ผลสำรวจหลายชิ้นยืนยันตรงกันว่า คนจบจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง ๆ จำนวนไม่น้อยเติบโตในหน้าที่งานการไม่ได้ เพราะทัศนคติผิด ๆ ที่ว่าตนเก่งกว่าคนอื่น “หนุ่มสาวที่ฉลาดและประสบความสำเร็จมักจะไม่ค่อยเจอกับความล้มเหลว และนั่นทำให้พวกเขาและเธอไม่อาจจะเรียนรู้จากความล้มเหลว”
เด็กจบมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงมักมีท่าทีต่อชีวิตที่ผิด ๆ เช่นว่า “ถ้ามีอะไรดี ๆ เกิดขึ้น นั่นเป็นเพราะฉันเป็นอัจฉริยะ แต่ถ้ามีอะไรแย่ ๆ เกิดขึ้น นั่นเป็นฝีมือของไอ้งั่งใครสักคนที่ไม่ใช่ฉัน หรือเป็นเพราะฉันไม่ได้รับการสนับสนุนเพียงพอในการทำงานชิ้นนั้น หรือเพราะสภาพตลาดเปลี่ยนไปจากเดิม...”
คนที่สมควรถูกเลือกคือ คนทำงานที่มีความรักงาน ทุ่มเท พร้อมจะถกแถลงอย่างเผ็ดร้อนเพื่อยืนยันความคิดของตัวเอง แต่หากมีข้อมูลใหม่ที่ตัวเองไม่เคยรู้มาก่อน เขาหรือเธอก็จะยอมรับว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่ออาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป และพร้อมจะถอยให้ข้อเท็จจริงใหม่ได้กำหนดทิศทางของเรื่องนั้น ๆ
(ฉพาะถ้อยคำที่โดนใจ)**http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/624195